ไขข้อสงสัย ! ยาง foodgrade ชิ้นส่วนยางเล็ก ๆ ส่วนประกอบของสินค้าในครัวเรือน เป็นวัสดุที่ช่วยป้องกันการรั่วซึม ทนความร้อน และป้องกันการปนเปื้อนของอาหาร เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัย ยางชนิดนี้เป็นยางที่ต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน foodgrade สำหรับการสัมผัสกับอาหารโดยตรง และไม่เป็นอันตราย การเลือกใช้ยาง foodgrade จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม แล้วยางชนิดนี้มีความสำคัญอย่างไร มาหาคำตอบกัน
ยาง foodgrade คืออะไร

ยาง foodgrade คือ ยางที่ได้รับการผลิต และทดสอบเพื่อให้มีความปลอดภัยสำหรับการสัมผัสอาหาร และเครื่องดื่ม โดยไม่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นยางที่ผ่านการรับรองจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น FDA องค์การอาหาร และยาในสหรัฐอเมริกา หรือมาตรฐานอื่น ๆ ในแต่ละประเทศ
คุณสมบัติยาง foodgrade
- ปลอดภัยต่อการสัมผัสอาหาร ยาง foodgrade ต้องปราศจากสารพิษ สารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราเมื่อสัมผัสกับอาหาร
- ผ่านการรับรองจากมาตรฐานสากล ผลิตภัณฑ์จากยางที่ต้องใช้งานกับอาหารต้องผ่านการทดสอบ และรับรองจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น FDA ในสหรัฐอเมริกา EFSA ในยุโรป หรือองค์กรรับรองมาตรฐานอื่น ๆ
- มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ยาง foodgrade ควรมีความคงตัวในสภาวะอุณหภูมิที่ต่างกัน ทั้งร้อนและเย็น โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างหรือปล่อยสารเคมีอันตรายออกมา
- ไม่มีผลต่อรสชาติและกลิ่นอาหาร ยางที่ใช้งานอาหารต้องไม่มีกลิ่นหรือรสปะปนกับอาหาร เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และรสชาติของอาหาร
ประเภทของยาง foodgrade
ยางซิลิโคน (VMQ – Silicone Rubber )
ยางซิลิโคนเป็นยาง foodgrade ที่ทนต่ออุณหภูมิสูงมาก ทนต่อแสง UV และสภาพแวดล้อมที่รุนแรง ไม่มีรสหรือกลิ่น ไม่ส่งผลต่อคุณภาพของอาหาร จะมีความยืดหยุ่นสูงกว่ายางประเภทอื่น ๆ
- การใช้งาน เหมาะกับการทำซีล อุปกรณ์ในห้องครัว ท่อส่งอาหาร และเครื่องดื่ม
- อายุการใช้งาน ยาวนาน 5-10 ปี ทนต่ออุณหภูมิสูงและต่ำ
ยางไนไตรล์ (NBR – Nitrile Rubber)
ยางไนไตรล์ เป็นยาง foodgrade ที่ทนต่ออุณหภูมิได้ปานกลาง ทนต่อน้ำมัน ไขมัน และสารเคมีปิโตรเลียมได้ดีมาก มีความยืดหยุ่นสูง และทนต่อการสึกหรอได้ดี
- การใช้งาน เหมาะกับการทำซีลปะเก็นของเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหาร ปะเก็นเครื่องแปรรูปเนื้อสัตว์ ท่อส่งน้ำมันพืช และระบบไฮดรอลิกในอุตสาหกรรมอาหาร
- อายุการใช้งาน ปานกลาง 3-7 ปี ทนต่อน้ำมันและไขมัน
ยางเอทิลีนโพรพิลีน ไดอีนโมโนเมอร์ (EPDM – Ethylene Propylene Diene Monomer)
ยางเอทิลีนโพรพิลีน ไดอีนโมโนเมอร์ เป็นยาง foodgrade ที่ทนต่อน้ำร้อนและน้ำเย็นจัด ทนต่อสารเคมี กรด ด่าง และแอลกอฮอล์ได้ดีมาก ไม่ซึมซับน้ำ ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา หรือแบคทีเรีย ไม่มีสารที่เป็นอันตรายสำหรับอาหาร
- การใช้งานยาง เหมาะกับการทำซีลเครื่องจักรแปรรูปอาหาร ท่อส่งของเหลวในโรงอาหาร ซีลกันน้ำ และอุปกรณ์ล้างภาชนะ
- อายุการใช้งาน ปานกลางถึงสูง 5-10 ปี ทนไอน้ำ และสารเคมีอ่อน
การใช้งานของยาง foodgrade ในสินค้าครัวเรือน

- อุปกรณ์ในครัวและเครื่องใช้ทำอาหาร เช่น แม่พิมพ์ซิลิโคน แผ่นรองอบซิลิโคน และทัพพีซิลิโคน
- อุปกรณ์เก็บรักษาอาหาร เช่น ซีลยางในฝาขวด ฝาปิดซิลิโคน และหลอดซิลิโคน
- อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ซีลฝาหม้อหุงข้าว และซีลยางในเครื่องปั่น ท่อเครื่องกรองน้ำ
มาตรฐานรับรองของยาง foodgrade
- FDA (Food and Drug Administration) องค์กรอาหาร และยาของสหรัฐอเมริกา กำหนดมาตรฐานสำหรับวัสดุที่ใช้สัมผัสอาหาร ต้องไม่มีสารปนเปื้อน สามารถใช้กับอาหารได้อย่างปลอดภัย
- LFGB (Lebensmittel – und Futtermittelgesetzbuch) มาตรฐานความปลอดภัยของเยอรมนี มีความเข้มงวดกว่ามาตรฐาน FDA ตรวจสอบการปล่อยสารอันตราย เช่น โลหะหนัก และสารอินทรีย์ระเหย ที่อาจปนเปื้อนสู่อาหาร
- EU 1935/2004 (European Union) กฎหมายของสหภาพยุโรปที่กำหนดข้อบังคับสำหรับวัสดุที่ใช้สัมผัสอาหาร ควบคุมไม่ให้มีสารอันตรายแพร่กระจายสู่อาหารในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
- NSF (National Sanitation Foundation) องค์กรอิสระที่ให้การรับรองด้านสุขอนามัย และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่ใช้สัมผัสอาหาร
วิธีตรวจสอบมาตรฐานและความปลอดภัยของยาง Food Grade
- ตรวจสอบว่ามีมาตรฐานรับรองมาตรฐาน เช่น มาตรฐาน FDA (Food and Drug Administration – USA) และ EU 1935/2004 (European Food Safety Authority – EFSA)
- อ่านฉลากสินค้าและใบรับรองจากผู้ผลิต ตรวจสอบ foodgrade บนฉลากของผลิตภัณฑ์
- ทดสอบด้วยตัวเอง ทดสอบคุณสมบัติด้านต่าง ๆ เช่น ทดสอบกลิ่น ต้องดมแล้วไม่มีกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์ ทดสอบความร้อน เมื่อโดนความร้อนต้องไม่เปลี่ยนสี และทดสอบน้ำมัน ไม่ควรเสียสภาพ
วิธีดูแลรักษายาง foodgrade

- ทำความสะอาด foodgrade อย่างถูกต้อง ล้างทำความสะอาดหลักจากใช้งานทุกครั้ง ใช้น้ำอุ่น หรือน้ำยาล้างจาน ใช้ฟองน้ำที่มีความนุ่ม ขัดทำความสะอาด และห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนจัด ยางบางชนิด เช่น ยางไนไตรล์ (NBR) และยาง EPDM อาจเสียหาย หากสัมผัสน้ำร้อนที่อุณหภูมิสูงเกินไป แม้ซิลิโคน Food Grade จะทนความร้อนได้สูงสุด 250°C แต่การแช่ยางน้ำร้อนเป็นเวลานนาน อาจทำให้เนื้อยางเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
- ป้องกันการสัมผัสน้ำมันและไขมันในระยะเวลานาน ยางบางชนิด เช่น ซิลิโคน Foodgrade อาจดูดน้ำมัน และไขมันทำให้ยางบวม หากโดนน้ำมัน ควรล้างทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน
- หลีกเลี่ยงการดึงหรือแรงบิดที่รุนแรง ยาง foodgrade ที่ถูกยืดหรือบิดหลาย ๆ ครั้ง อาจเสียรูปทรงหรือเสื่อมสภาพ
- ตรวจสอบสภาพยางเป็นประจำ หากพบว่ายางมีการเสื่อมสภาพ ไม่ว่าจะเป็นยางมีรอยแตกร้าว หรือบวม ควรเปลี่ยนใหม่
ยาง foodgrade วัสดุชิ้นหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ ส่งผลต่อความปลอดภัยของอาหาร และสุขภาพของผู้ใช้งานโดยตรง ดังนั้นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานรับรอง เช่นเดียวกับยาง foodgrade จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อความปลอดภัย และสุขอนามัยภายในครัวเรือน หากสนใจเลือกใช้ยางที่มี คุณภาพสูง แม่นยำ ทนทาน และได้มาตรฐานสากล ที่ NP Polymer เราผลิต และจัดจำหน่ายชิ้นส่วนยางทุกประเภท เราพร้อมให้บริการคุณ
📱Tel: 02-8706956, 064-1519829, 064-2426545
🔷 Facebook: NP Polymers รับผลิตชิ้นส่วนยางอุตสาหกรรม
🟢 Line: https://line.me/ti/p/l_lvgDnb5-