ยาง Oilseal หรือที่เรียกกันว่า ซีลกันน้ำมัน ชิ้นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมอย่างมาก ช่วยป้องกันการรั่วซึมให้กับของเหลวในของระบบเครื่องจักร ป้องกันฝุ่นละออง และสิ่งสกปรกเข้าสู่ระบบเครื่องจักร Oilseal จึงมีบทบาทในการป้องกันความเสียหายของชิ้นส่วน ลดความเสียหาย และยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร เพื่อให้เราเข้าใจความสำคัญของยางชนิดนี้มากขึ้น เรามาเจาะลึกถึงยาง Oilseal อย่างละเอียดกัน
ความสำคัญของยาง Oilseal ในอุตสาหกรรม

- ป้องกันการรั่วซึมของระบบ Oilseal ควบคุมการซึมของน้ำมัน จาระบี และสารหล่อลื่น ให้อยู่ภายในระบบเครื่องจักร ลดการสูญเสียน้ำมัน และรักษาคุณภาพของระบบหล่อลื่น
- รักษาแรงดันในระบบ ช่วยให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมการไหลของของเหลวให้เหมาะสม
- ลดการสึกหรอของชิ้นส่วนของเครื่องจักร ป้องกันการเสียดสีเมื่อชิ้นส่วนเคลื่อนที่ เช่น เพลาหมุน และแบริ่ง เพื่อยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องจักร
- ป้องกันสิ่งสกปรก ฝุ่น และน้ำเข้าสู่ระบบ ลดความเสียหายจากสิ่งแปลกปลอมที่อาจทำให้เครื่องจักรเสื่อมสภาพ
- เพิ่มความปลอดภัยให้กับเครื่องจักรและอุตสาหกรรม ป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากรั่วซึมของน้ำมัน รักษาสภาพแวดล้อมการทำงานให้มีความสะอาด และปลอดภัย
ประเภทของยาง Oilseal
- ซีลริมเดี่ยว (Single Lip Oilseal) เป็นซีลกันน้ำมันที่มีขอบซีลชั้นเดียว ใช้ซีลป้องกันการรั่วซึมของเหลว เช่น น้ำมันหล่อลื่น จาระบี ในระบบที่ไม่มีฝุ่นหรือแรงดันสูง
- ซีลริมคู่ (Double Lip Oilseal) เป็นซีลกันน้ำมันที่มีขอบสองชั้น ใช้ซีลป้องฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกเข้าสู่ระบบ เครื่องจักรที่ใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นหรือโคลน เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร
- ซีลสำหรับงานแรงดันสูง (High-Pressure Oilseal) เป็นซีลกันน้ำมันที่ออกแบบมาสำหรับระบบที่มีแรงดันสูง เช่น ระบบไฮดรอลิก สามารถทนแรงดันได้มากกว่า 10 บาร์ โดยไม่เสียรูป
โครงสร้างและวัสดุที่ใช้ในการทำยาง Oilseal

โครงสร้างสำหรับ Oilseal
- ขอบซีล เป็นส่วนที่สัมผัสกับเพลาเพื่อป้องกันการรั่วซึมของของเหลว อาจมีขอบซีลริมเดียว หรือ ซีลริมคู่ ขึ้นอยู่ลักษณะของการใช้งาน
- โครงเสริมโลหะ เสริมความแข็งแรงของ Oilseal และป้องกันการเสียรูป ทำจากเหล็กชุบสังกะสี หรือสแตนเลส
- สปริงเสริม ใช้กดขอบซีลให้แนบสนิทกับเพลาเพื่อป้องกันการรั่วซึม ทำจากเหล็กกล้าคาร์บอนหรือสแตนเลส
วัสดุยางสังเคราะห์
- ยางไนไตรล์ (NBR) ทนน้ำมัน น้ำมันไฮดรอลิก และจาระบี ไม่ทนต่ออุณหภูมิสูงมาก เหมาะกับอุณหภูมิ -40°C ถึง 120°C
- ยางฟลูออโรคาร์บอน (FKM) ทนความร้อนสูงและสารเคมีรุนแรง เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง กรด และตัวทำละลาย เหมาะกับอุณหภูมิ -20°C ถึง 200°C
- ยางเอทิลีนโพรพิลีนไดอีน (EPDM) ทนต่อความร้อน โอโซน และรังสี UV เหมาะกับอุณหภูมิ -50°C ถึง 150°C
- ยางซิลิโคน (VMQ) ยืนหยุ่นสูง ทนต่ออุณหภูมิสูงและต่ำ เหมาะกับอุณหภูมิ -60°C ถึง 230°C
การใช้งาน Oilseal ในอุตสาหกรรม

Oilseal สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องจักร
- ใช้งานในกระปุกเกียร์ ป้องกันน้ำมันหล่อลื่นรั่วออก และป้องกันฝุ่น
- ใช้งานในปั๊มไฮดรอลิกและปั๊มลม ป้องกันการรั่วของน้ำมันไฮดรอลิก และแรงดันอากาศ
Oilseal สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์
- ใช้งานในเครื่องยนต์ ป้องกันการรั่วของน้ำมันเครื่อง เช่น ซีลเพลาขับ และซีลเพลาราวลิ้น
- ใช้งานในเกียร์และระบบส่งกำลัง ป้องกันน้ำมันเกียร์รั่ว เช่น ซีลเพลาขับ และซีลเฟืองท้าย
Oilseal สำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือน
- ใช้งานในเครื่องซักผ้า ป้องกันน้ำรั่วออกจากแกนหมุนของถังซัก
- ใช้งานในเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นเครื่องบด เครื่องทำกาแฟ ป้องกันฝุ่น และน้ำมันเข้าสู่ระบบ
วิธีการเลือกซื้อยาง ยาง Oilseal ที่เหมาะกับการใช้งาน
- พิจารณาเรื่องแรงดันและอุณหภูมิที่รองรับ เลือก Oilseal ที่รองรับแรงดัน และอุณหภูมิของระบบได้ เช่น ยางไนไตรล์(NBR) มีขีดจำกัดของอุณหภูมิที่ -40°C ถึง 120°C
- เลือกวัสดุให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมการใช้งาน เลือก Oilseal ที่เหมาะกับการใช้งาน เช่น ยางฟลูออโรคาร์บอน (FKM) ทนความร้อน และสารเคมีสูง ใช้กับน้ำมันเชื้อเพลิง กรด และตัวทำละลายได้
- ตรวจสอบขนาดที่ต้องการนำไปใช้ ตรวจเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน (ID) เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก (OD) และความหนา (W) เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่า Oilseal พอดีกับเพลา และตัวเรือน (Housing) หากขนาดไม่พอดีอาจทำให้เกิดการรั่วซึมได้
- ตรวจสอบความเร็ว และประเภทของการเคลื่อนที่ของเพลา ความเร็วของเพลามีผลต่อการทำงานของ Oilseal ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เพลาหมุนเร็วต้องใช้ Oilseal ที่ทนต่อแรงเสียดทานสูง เช่น ยางฟลูออโรคาร์บอน (FKM)
วิธีการดูแลและบำรุงรักษายาง Oilseal

- ตรวจสอบสภาพของ Oilseal อย่างสม่ำเสมอ ตรวจสอบรอยร้าว การรั่วซึม หรือการสึกหรอของยาง Oilseal เมื่อพบว่าซีลเสื่อมสภาพควรเปลี่ยนใหม่ทันที
- ใช้ Oilseal ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เลือก Oilseal ที่สามารถรองรับ แรงดัน อุณหภูมิ และสารหล่อลื่น ที่ใช้ในระบบเครื่องจักร
- ทำความสะอาดและเปลี่ยน Oilseal ตามรอบการใช้งาน ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ของการติดตั้ง และเปลี่ยน Oilseal เมื่อครบอายุการใช้งานตามคู่มือของเครื่องจักร
- ติดตั้ง Oilseal อย่างถูกต้อง การติดตั้งผิดวิธีอาจนำไปสู่การเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว หรือเกิดการรั่วซึมได้ และควรใช้เครื่องมือให้เหมาะสมในการติดตั้ง
ยาง Oilseal เป็นหนึ่งในชิ้นส่วนสำคัญสำหรับอุตสาหกรรม ดังนั้นการเลือก Oilseal ที่เหมาะสมกับประเภทและการใช้งานของระบบต่าง ๆ จะช่วยให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การดูแล และการบำรุงรักษา Oilseal อย่างถูกต้อง ช่วยยืดอายุการใช้งานภายในของระบบเครื่องจักรได้ดียิ่งขึ้น หากคุณกำลังมองหาชิ้นส่วนยางคุณภาพสูง ที่ผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม NP Polymer พร้อมให้บริการ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม
📱Tel: 02-8706956, 064-1519829, 064-2426545
🔷 Facebook: NP Polymers รับผลิตชิ้นส่วนยางอุตสาหกรรม
🟢 Line: https://line.me/ti/p/l_lvgDnb5-